ผลการเลือกตั้ง ของ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562

ผลอย่างเป็นทางการ

11653516381136
พลังประชารัฐประชาธิปัตย์ภูมิใจไทยอื่น ๆอนาคตใหม่เพื่อไทย
e • d ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562
พรรคคะแนนเสียง%ที่นั่ง
แบ่งเขตบัญชีรายชื่อรวม
เพื่อไทย7,881,00622.161360136
พลังประชารัฐ8,441,27423.749719116
อนาคตใหม่6,330,61717.80315081
ประชาธิปัตย์3,959,35811.13332053
ภูมิใจไทย3,734,45910.50391251
เสรีรวมไทย824,2842.3201010
ชาติไทยพัฒนา783,6892.206410
ประชาชาติ481,4901.35617
เศรษฐกิจใหม่486,2731.37066
เพื่อชาติ421,4121.19055
รวมพลังประชาชาติไทย415,5851.17145
ชาติพัฒนา244,7700.69123
พลังท้องถิ่นไท214,1890.60033
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย134,8160.38022
พลังปวงชนไทย80,1860.23011
พลังชาติไทย73,4210.21011
ประชาภิวัฒน์69,4310.20011
พลังไทยรักไทย60,4340.17011
ไทยศรีวิไลย์60,3540.17011
ครูไทยเพื่อประชาชน56,6330.16011
ประชานิยม56,2640.16011
ประชาธรรมไทย48,0370.14011
ประชาชนปฏิรูป45,4200.13011
พลเมืองไทย44,9610.13011
ประชาธิปไตยใหม่39,2600.11011
พลังธรรมใหม่35,0990.10011
อื่น ๆ57,3440.16
คะแนนสมบูรณ์35,561,556100350150500
คะแนนเสีย2,130,3275.57
ไม่ประสงค์ลงคะแนน605,3921.58
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง38,268,36674.69
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง51,239,638
ที่มา: คณะกรรมการการเลือกตั้ง คะแนนเสียง ส.ส. แบบแบ่งเขต, ผล ส.ส. แบบแบ่งเขต, ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
สัดส่วนคะแนนมหาชน
พลังประชารัฐ
  
23.73%
เพื่อไทย
  
22.29%
อนาคตใหม่
  
17.63%
ประชาธิปัตย์
  
11.11%
ภูมิใจไทย
  
10.51%
อื่น ๆ
  
14.73%

ผลการเลือกตั้งปี 2562 มีห้าพรรคซึ่งประกอบด้วยพรรคเพื่อไทย พลังประชารัฐ อนาคตใหม่ ประชาธิปัตย์และภูมิใจไทยได้ที่นั่งร้อยละ 86.8 ในสภาล่าง เมื่อเทียบกับในปี 2554 ซึ่งพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์สองพรรคครองที่นั่งเกินร้อยละ 80[85]:165 พรรคเพื่อไทยยังรักษาอัตราชนะเลือกตั้งที่ร้อยละ 54.4 และครองฐานเสียงในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือไว้ได้ พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้แพ้ใหญ่สุดในการเลือกตั้ง โดยเสียฐานในภาคใต้ตอนบนและกรุงเทพมหานคร สำหรับพรรคพลังประชารัฐและอนาคตใหม่ซึ่งเป็นพรรคใหม่เป็นผู้ชนะรายใหญ่สุด ส่วนหนึ่งจากสภาพที่มีการแบ่งขั้วอย่างสูงในการเมืองไทย โดยผู้สมัครอดีต ส.ส. ที่พรรคพลังประชารัฐดูดจากพรรคอื่นได้รับเลือกตั้งกลับมาเกินครึ่ง และพรรคอนาคตใหม่ใช้สื่อสังคมทำให้ได้รับเสียงจากเยาวชน ผู้เลือกตั้งครั้งแรกและคนในเขตเมืองทั้งกรุงเทพมหานคร ภาคกลางและภาคตะวันออก[85]:165–7

ความสับสนเรื่องการประกาศผลการเลือกตั้ง

คืนวันเลือกตั้ง หลังการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการแล้วเสร็จไปร้อยละ 93 พบว่าพรรคพลังประชารัฐได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด (7.59 ล้านคะแนน) รองลงมาสี่อันดับได้แก่ พรรคเพื่อไทย (7.12 ล้านคะแนน) พรรคอนาคตใหม่ (5.23 ล้านคะแนน) พรรคประชาธิปัตย์ (3.23 ล้านคะแนน) และพรรคภูมิใจไทย (3.20 ล้านคะแนน) พรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. พึงมีจำนวนไล่เลี่ยกัน แต่พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตมากกว่า[86] กรรมการการเลือกตั้งเปิดเผยว่า มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 65.96 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด 51.2 ล้านคน เป็นบัตรเสียร้อยละ 5.6 และไม่ประสงค์ลงคะแนนร้อยละ 1.5[87] อย่างไรก็ดี กรรมการการเลือกตั้งกลับตัดสินใจเลื่อนการประกาศผลการเลือกตั้งในคืนวันเลือกตั้งโดยอ้างว่า "ไม่มีเครื่องคิดเลข"[88] การเลื่อนการประกาศผลทำให้มีความกังวลว่าอาจมีการโกงการเลือกตั้ง[89] วันรุ่งขึ้น กรรมการการเลือกตั้งประกาศผู้ได้รับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตอย่างไม่เป็นทางการทั้ง 350 เขต[90] กรรมการการเลือกตั้งกล่าวโทษสื่อต่าง ๆ ว่ามีข้อผิดพลาดของมนุษย์ทำให้ตัวเลขที่ได้ไม่ตรงกัน[91] และให้รอคะแนนทั้ง 350 เขตในภายหลัง[92] ทั้งนี้ กกต. จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 เพราะต้องไต่สวนสำนวนที่อาจมีผลเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งก่อน[91] มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 186 เรื่อง[93] ผลการเลือกตั้งทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่นั่งส่วนเกิน (overhang) ซึ่งพรรคเพื่อไทยชนะได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตมากกว่า ส.ส. พึงมี ทำให้เหลือที่นั่งสำหรับ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อไม่ถึง 150 ที่นั่ง ในกรณีนี้เคยมีการอภิปรายแล้วว่าจะ "ต้องปรับสูตรคำนวณจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อให้เท่ากับ 150 คน ด้วยการใช้เทียบบัญญัติไตรยางค์"[94]

ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ส.ส. เขต 1 นครปฐม, 29 เมษายน 2562

กกต. ประกาศคะแนนมหาชนของแต่ละพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 มีนาคม 2562 นอกจากนี้ ยังประกาศว่าผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นเป็น 38.26 ล้านคน (ร้อยละ 74.69) โดยอ้างว่าตัวเลขผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเดิมคิดโดยยึดฐานข้อมูลขณะประกาศผลร้อยละ 93[95] ด้านคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งและร้อยละของผู้มาใช้สิทธิที่ กกต. แถลงไว้เมื่อวันที่ 24 กับ 28 มีนาคม 2562 ไม่ตรงกัน[96] กกต. ลบผลคะแนนมหาชนในวันที่ 28 พฤษภาคมหลังมีข้อค้นพบดังกล่าว กรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งระบุว่าสาเหตุที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งไม่ตรงกันนั้นเป็นเพราะมีผู้มาใช้สิทธิบางส่วนมาลงทะเบียนแล้วแต่ไม่ได้ลงคะแนน[93] วันที่ 4 เมษายน กกต. สั่งนับคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้ง 2 หน่วย และจัดการเลือกตั้งใหม่ใน 6 หน่วยมีกำหนดในวันที่ 21 เมษายน 2562 กกต. แถลงว่าให้นับคะแนนใหม่เพราะผลการนับคะแนนไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิและจำนวนบัตรเลือกตั้ง ส่วนหน่วยที่มีคำสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่นั้นเนื่องจากผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้ง[97] โดยหน่วยเลือกตั้งที่มีคำสั่งให้นับคะแนนใหม่ ได้แก่ หน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะ[97] ส่วนหน่วยเลือกตั้งที่มีคำสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ มีจำนวน 6 หน่วย โดยเป็นหน่วยที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะ 4 หน่วย และหน่วยที่ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐชนะ 2 หน่วย[97]

วันที่ 21 เมษายน 2562 มีการเลือกตั้งซ่อมใน 254 หน่วยเลือกตั้งหลังพบว่ามี "บัตรเขย่ง" อย่างไรก็ตาม ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงผู้ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ยกเว้นในจังหวัดนครปฐม โดยจะมีการประกาศผลนับคะแนนใหม่ในวันที่ 28 เมษายน[98] วันที่ 23 เมษายน 2562 กกต. มีมติเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. เขต 8 จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย เพราะ "สัญญาว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด" และให้จัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 26 พฤษภาคม โดยพรรคเพื่อไทยจะเสียคะแนนเดิมในเขตนี้[98] นอกจากนี้ยังกรณีที่พบว่า กกต. จังหวัดกับเลขา กกต. รายงานผลการเลือกตั้งส.ส. เขต 1 นครปฐมไม่ตรงกัน โดย กกต. จังหวัดรายงานว่าผู้สมัครพรรรคอนาคตใหม่ชนะ ส่วนเลขา กกต. รายงานว่าผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ชนะ[99]

การคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ

กฎหมายไม่ได้กำหนดสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อชัดเจน มีการเปิดเผยว่าสูตรการคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อแบ่งได้ 3 สูตร ซึ่งอาจทำให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีที่นั่งเปลี่ยนแปลงถึง 7 ที่นั่ง[100] โดยก่อนการเลือกตั้ง กกต. ประมาณว่าพรรคจะที่ได้รับจัดสรร ส.ส. บัญชีรายชื่อต้องได้คะแนนเสียงขั้นต่ำ 70,000 คะแนน[101] วันที่ 5 เมษายน 2562 กกต. เปิดเผยสูตรคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เนื่องจากการมีที่นั่งเกินทำให้มีการจัดสรรที่นั่งให้แก่พรรคการเมืองขนาดเล็กเพิ่มรวม 25 พรรค ทั้งนี้ กกต. แถลงว่าจำนวนดังกล่าวยึดตัวเลขที่ประกาศเมื่อวันที่ 28 มีนาคม[102] สูตรดังกล่าวลดคะแนนเสียงขั้นต่ำเหลือ 35,000 คะแนน[101] วันที่ 11 เมษายน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความการใช้สูตรเพื่อจัดสรร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้แก่พรรคการเมืองที่มี ส.ส. พึงมีน้อยกว่า 1 คนชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่[103] ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับเรื่องดังกล่าวเพราะ กกต. ไม่มีอำนาจ[104] วันที่ 26 เมษายน 2562 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย[105]

วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 กกต. ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง 349 เขต ยกเว้นเขตเลือกตั้งที่ 8 จังหวัดเชียงใหม่ที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะ โดย กกต. สั่งตัดสิทธิผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย และให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ทว่า กกต. ยังไม่ประกาศคะแนนมหาชนของแต่ละพรรคการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงตามผู้สมัครเขตต่าง ๆ ที่ถูกตัดสิทธิ[106] วันต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยด้วยมติเอกฉันท์ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 128 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 91[107] และ กกต. ประกาศรับรอง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 149 คน ซึ่งรวมพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งมากกว่า ส.ส. พึงมีรวม 11 พรรคด้วย[lower-alpha 1][108]

พรรคเพื่อไทย[109] พรรคประชาธิปัตย์[110] และพรรคอนาคตใหม่[111] ประกาศคัดค้านสูตรคำนวณ ส.ส. ที่ กกต. ใช้ เช่นเดียวกับปัจเจกบุคคล เช่น สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต.[112] และลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ เลขาธิการพีเน็ต[113] นอกจากนี้ได้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์และการติดแฮชแท็กบนทวิตเตอร์ โดยเรียก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองขนาดเล็กซึ่งได้คะแนนเสียงต่ำกว่า 71,000 คะแนนจำนวน 11 พรรค ว่าเป็น "ส.ส. เอื้ออาทร"[114][115]

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/830478 http://www.bbc.com/news/business-30218621 http://www.bbc.com/thai/thailand-43221557 http://www.ft.com/intl/cms/s/0/a01892a6-fe33-11e4-... http://www.khaosodenglish.com/politics/2018/11/30/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/02/18/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/02/27/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/03/26/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/03/28/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/04/02/...